การค้นพบใน E.coli ของ เอกโซนิวคลีเอส

ในปี 1964 โรเบิร์ต เลห์แมน(I. Robert Lehman) ค้นพบ เอกโซนิวคลีเอส I ใน E.coli และนับตั้งแต่ตอนนั้น ก็มีการค้นพบ เอกโซนิวคลีเอส II, III, IV, V, VI, VII, และ VIII ตามมา โดยแต่ละชนิดของเอกโซนิวคลีเอส มีความจำเพาะของการทำงานและจุดประสงค์ [6]

เอกโซนิวคลีเอส I จะสลายดีเอ็นเอสายเดียว(single-strand DNA) ในทิศทาง 3'-5' ทำให้ได้ ดีออกซีไรโบนิวคลีโอไซด์ 5' มอนอฟอสเฟต(deoxyribonucleoside 5'-monophosphates) มันจะไม่ตัดสายดีเอ็นเอที่ไม่มีปลาย 3'-OH (terminal 3'-OH groups) เพราะมีการป้องกันโดยหมู่ฟอสเฟต หรือหมู่อะซิติล[7]

เอกโซนิวคลีเอส II ทำงานร่วมกับ ดีเอ็นเอพอลิเมอเรส I ซึ่งประกอบด้วย 5' เอกโซนิวคลีเอส ทำงานโดย ตัด อาร์เอนเอไพร์เมอร์ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ

เอกโซนิวคลีเอส III มี 4 รูปแบบการทำงาน

  1. 3'-5' เอกโซดีออกซีไรโบนิวคลีเอส ซึ่งจะเกิดเฉพาะกับ ดีเอ็นเอสายคู่
  2. ไรโบนิวคลีเอส
  3. 3' ฟอสเฟต
  4. เอพี เอนโดนิวคลีเอส (Apurinic/apyrimidinic (AP) endonuclease) ต่อมาเรียกว่า เอนโดนิวคลีเอส II[8]

เอกโซนิวคลีเอส IV มีการเติมน้ำในโมเลกุล ทำให้ไม่สามารถสลายพันธะของโอลิโกนิวคลีโอไทด์ ไปเป็น นิวคลีโอไซด์ 5' มอนอฟอสเฟต ซึ่ง เอกโซนิวคลีเอสชนิดนี้ ต้องการ Mg2+ เพื่อให้สามารถทำงานได้ และยังสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า เอกโซนิวคลีเอส I[9]

เอกโซนิวคลีเอส V (เรียกอีกอย่างว่า RecBCD) ทำงานในทิศทาง 3'-5' โดยการเติมน้ำ(3’ to 5’ hydrolyzing enzyme) ซึ่งกระตุ้นดีเอ็นเอสายคู่และดีเอ็นเอสายเดี่ยว และยังต้องการ Ca2+[10]ในการทำงาน พร้อมทั้งเป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญมากในกระบวนการโฮโมโลกัส รีคอมบิเนชัน (homologous recombination) ; กระบวนการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนดีเอ็นเอของโครโมโซมที่เป็นคู่กัน

เอกโซนิวคลีเอส VII สามารถย่อยสายดีเอ็นเอได้ในทิศทาง 5'-3' หรือ 3'-5' ได้เป็น 5' ฟอสโฟ มอนอนิวคลีโอไทด์

เอกโซนิวคลีเอส VIII ทำหน้าที่ย่อยกรดนิวคลีอิกจากปลาย 5' ไป 3' (5’ to 3’ dimeric protein) ซึ่งไม่ต้องการ เอทีพี(ATP) หรือ gaps (ช่วงของสายดีเอ็นเอที่ถูกตัดออก ขาดหาย หรือไม่มีการสังเคราห์) หรือ nick (การสลายพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์บนสายดีเอ็นเอ) แต่ต้องการปลาย 5'-OH (free 5’ OH group) ในการทำงาน

  • โครงสร้างของเอกโซนิวคลีเอส
  • ดีเอ็นเอพอลิเมอเรสของ อาร์เคียแบคทีเรีย ซึ่งแสดงโครงสร้างของเอกโซนิวคลีเอส(3'-5'Exonuclease;สีเหลือง)
  • การทำงานร่วมกันของเอนโดนิวคลีเอสและเอกโซนิวคลีเอส
  • กลไกในการสลายพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์โดยใช้ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส
  • โรเบิร์ต เลห์แมน

ใกล้เคียง

เอกโซ เอกโซนิวคลีเอส เอกโซสเฟียร์ เอกซ์เจแปน เอนโซ เฟร์นันเดซ (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2544) เอกซ์บอกซ์ (เครื่องเล่นวิดีโอเกม) เอนโซ มาเรสกา เอกซ์เอ็นเอกซ์เอกซ์ เอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอน เอกซ์ ไอ เอส

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอกโซนิวคลีเอส http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://bioinfo.genopole-toulouse.prd.fr/priam/cgi-... http://nlm.nih.gov/cgi/mesh/2006/MB_cgi?rn=1&term=... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14235546 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15565158 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18413717 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18955505 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/6246343 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=p... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=p...